วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โรโกโก

โรโกโก

ศิลปโรโคโค (อังกฤษRococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
Le Dejeuner โดยบูแชร์แสดงให้เห็นองค์ประกอบชีวิตของภาพเขียนแบบโรโคโค (ค.ศ. 1739, พิพิธภัณฑ์ลูฟร์)

ด้านเหนือของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo - ลานราชรถ:เป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองมาจนสมัยพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ทรงสั่งให้ติดช่อมะกอกแทน

ศิลปโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งานสำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้

ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปโรโคโครุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และ เฟอร์นิเจอร์ จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ศิลปโรโคโคยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโคโคจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric)

ศิลปะแบบโรโคโคเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือสถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศเยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปบาโรกแบบเยอรมนีได้เป็นอย่างดี ศิลปโรโคโคแบบเยอรมนีจะใช้กันมากในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่ง ปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซียก็เริ่มสร้างลักษณะโรโคโคที่เป็นของตนเองที่เรียกกันว่าโรโคโคแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากโรโคโคฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ สถาปนิกมักจะตกแต่งภายในด้วยปุยเมฆที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วไปทั้งห้อง

พอถึงปลายสมัยโรโคโค ศิลปะแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันทางเหนือและไต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ(Francesco Borromini) และ กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ใช้โรโคโคที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิลส์ และซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสกานีและโรม จะไม่นิยมโรโคโค และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรก


โรโคโคที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโคโคจะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโคโคที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ(William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิกซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก ศิลปโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมแบบกอธิคเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18
ศิลปโรโคโคเริ่มเสื่อมความนิยมกันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปัญญาชนเช่นวอลแตร์ และ จาค์ส ฟรังซัวส์ บรอนเดล (Jacques-François Blondel) เริ่มประณามว่าศิลปโรโคโคเป็นศิลปะที่ฉาบฉวย เป็นศิลปะที่ทำให้คุณค่าของศิลปะโดยทั่วไปเสื่อมลง และ เป็นศิลปะที่ออกจะ "รก" เพราะจะเต็มไปด้วยลวดลายหอย, มังกร, หญ้า, ต้นปาล์ม และ ต้นไม้ใบไม้อื่นๆสารพัด[1] พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปโรโคโคก็เสื่อมความนิยมในประเทศฝรั่งเศส ศิลปนีโอคลาสสิกที่ขึงขังเป็นระเบียบกว่าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นงานของจาค์ส ลุยส์ เดวิด (Jacques Louis David) ขณะเดียวกันที่ประเทศเยอรมนีก็ค่อนและเรียกศิลปโรโคโคว่า Zopf und Perücke (ภาษาอังกฤษ: pigtail and periwig) หรือเรียกสมัยนี้สั้นๆว่า "Zopfstil" ขณะที่ตามเมืองใหญ่ๆเริ่มหมดความสนใจกับศิลปะ") ที่มากับรัฐบาลของพระเจ้านโปเลียน แห่งฝรั่งเศส เข้ามาแทนที่
ระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง ค.ศ. 1870 ความสนใจทางศิลปะแบบโรโคโคก็มีการฟี้นฟูขึ้นมาอีก ศิลปินอังกฤษเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่หันมาฟี้นฟูศิลปะลักษณะนี้ และใช้คำว่า "แบบหลุยส์ที่ 14" เมื่อพูดถึงโรโคโค ศิลปโรโคโคที่ไม่มีใครซื้อที่กันปารีสก็มาโก่งขายกันด้วยราคาแพงกันที่อังกฤษ แต่ศิลปินคนสำคัญเช่นยูจีน เดอลาครัวส์ (Eugène Delacroix) และ ผู้อุปถัมภ์ศิลปะเช่นจักรพรรดินียูจีน (Empress Eugénie) (พระมเหสีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3) ก็ซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปโรโคโคเพราะความความอ่อนช้อยและความมีลูกเล่น

ศิลปโรโคโคแขนงต่างๆ


ความประดิดประดอยและความมีลูกเล่นของศิลปโรโคโคทำให้เป็นศิลปะที่เหมาะสำหรับสถานที่ไม่ต้องใหญ่โตโอฬารอย่างสถาปัตยกรรมหรือประติมากรรมแบบบาโรกฉะนั้นที่ฝรั่งเศสเราจึงพบศิลปะแบบนี้ภายในที่อยู่อาศัย อย่างเช่นรูปปั้นกระเบื้องเล็กๆ หรืองานโลหะ และโดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่กลายมาเป็นที่นิยมจนชนชั้นสูงชาวฝรั่งเศสต้องไปเสาะหามาตกแต่งคฤหาสน์หรือวัง

องค์ประกอบของศิลปะแบบโรโคโคจะเน้นความไม่สมดุล (asymmetry) อันเป็นแนวคิดแบบใหม่ของศิลปะแบบยุโรป ซื่งแตกต่างจากแนวคิดเดิมที่เน้นการวางองค์ประกอบที่จะต้องสมดุล การใช้ความไม่สมดุลเช่นนี้เป็นการทำให้เกิดความรู้สึกที่เรียกกันว่า contraste

ตัวอย่างของเฟอร์นิเจอร์แบบโรโคโคเต็มตัวจะเห็นได้จากโต๊ะที่สร้างโดยช่างออกแบบชาวเยอรมนีชื่อ เจ เอ ไมซอนเนียร์ (J. A. Meissonnier) เมื่อราวปี ค.ศ. 1730 โต๊ะทั้งตัวแต่งด้วยลวดลายจนพรางลักษณะสถาปัตยกรรมเดิมหรือโครงเดิม (tectonic form) ของตัวโต๊ะเองจนมิดชิด การตกแต่งนั้นจะไม่เหลือแม้แต่พื้นโต๊ะ ลวดลายทั้งหมดจะผสมผสานกลืนไปกับวงโค้งอย่างขาน่องสิงห์และลายหอยหรือใบไม้ (rocaille) อย่างที่โรโคโคนิยม



โรโคโคเหมาะกับงานประติมากรรม หรือ รูปปั้นกระเบื้องชิ้นเล็กๆ อย่างรูปปั้นหรือเครื่องกระเบื้องที่มาจาก เซเวรอ (Sèvres) ประเทศฝรั่งเศส และ ไมเซ็น (Meissen) ประเทศเยอรมนี ประติมากรรมจากวัสดุอื่นก็มีไม้ และเหล็ก แต่สิ่งที่ใช้โรโคโคกันมากคือตู้สารภาพบาป (confessionals) ธรรมมาสน์ แท่นบูชา (altar) หรือ การตกแต่งด้านหน้าของวัด (facade)

ช่างแกะสลักไม้หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์จากปารีสและเยอรมนีจะเน้นการแกะสลักแบบลอยตัว แทนที่จะอวดลายธรรมชาติของเนื้อไม้หรือเคลือบไม้ให้มันแบบญี่ปุ่น แบบวิธีแวร์นีส์ มาแตง (vernis martin) อย่างช่างยุคก่อนหน้านั้น ช่างสมัยโรโคโคจะแกะไม้แล้วปิดทอง วิธีที่เรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า ออร์โมลู (ormolu) ศิลปินสำคัญที่ใช้วิธีนี้ก็มี อองตวน กอเดรอ (Antoine Gaudreau) ชาร์ล เครซองท์ (Charles Cressent) ฌอง-ปีแอร์ แลทซ์ (Jean-Pierre Latz) ฟรองซัวส์ เออบอง (François Oeben) และ เบอร์นาร์ด ฟอน ริเซ็นเบิร์ก (Bernard II van Risenbergh)

นักออกแบบชาวฝรั่งเศสเช่น ฟร็องซัวส์ เดอ คูวีลีเย (François de Cuvilliés) นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) และบาร์โทโลมิว ราสเตรลิ (Bartolomeo Rastrelli) นำศิลปะแบบโรโคโคไปเผยแพร่ด้วยตนเองที่มิวนิค ประเทศเยอรมนี และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย นักออกแบบกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้นำทางของการตกแต่งสมัยใหม่ซึ่งนำโดยซิมอง ฟิลิปพีนิส พอยริเย (Simon-Philippe Poirier)

ศิลปะโรโคโคในประเทศฝรั่งเศสจะค่อนข้างสงวนท่าที (reserve) กว่าทางเยอรมนีหรือประเทศอื่นที่โรโคโครุ่งเรือง ส่วนใหญ่จะเป็นงานไม้หรือสลักไม้ ศิลปะจะขาดชีวิตจิตใจหรือความอ่อนช้อยอย่างธรรมชาติ นอกจากนั้นยังขาดการผสมผสานระหว่างรูปทรงธรรมชาติและการประยุกต์จากรูปทรงธรรมชาติ
โรโคโคทางประเทศอังกฤษก็คล้ายกับฝรั่งเศสตรงที่ค่อนข้างจะสงวนท่าที ธอมัส ชิพเพ็นเดล ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ใช้ความอ่อนช้อยแต่จะขาดลูกเล่น ศิลปินคนที่สำคัญที่สุดของสมัยนี้ก็คงจะเป็นธอมัส จอห์นสัน (Thomas Johnson) ช่างแกะสลักฝีมือดีจากลอนดอนตอนกลางศตวรรษที่ 18

การตกแต่งภายใน


การตกแต่งภายในที่(Gatchina)กาชินา 

การเดินทางไปแสวงบุญที่ไซเธอรา (Pilgrimage to Cythera) โดยวาโต (Watteau) ที่แสดงถึงความสนุก ความผ่อนคลาย
ตัวอย่างของการตกแต่งภายในแบบโรโคโคจะพบได้ใน วังโซลิทูด (Solitude Palace) ที่เมืองชตุทท์การ์ท และวังจีน (Chinese Palace) ที่เมืองออราเนียนบอม (Oranienbaum) วัดวีส์ และพระราชวังซ็องซูซีที่เมืองพอทสดัม
การตกแต่งห้องของโรโคโคจะเลิศลอย และจะออกไปทางร่าเริง ทุกตารางนิ้วจะมีปูนปั้นเป็นรูปใบไม้ ไฟ ทรงหอย และก้อนเมฆห้อยระย้าไปทั้งห้อง และเช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์การตกแต่งจะลบเลือนรูปทรงสถาปัตยกรรมเดิมออกหมดรวมทั้งขอบตกแต่งเพดาน (architrave, frieze และ cornice) ที่เคยเป็นที่นิยมกัน ด้วยการใช้รูปแกะสลักโดยเฉพาะปูนปั้น การตกแต่งแบบนี้จะเห็นได้จากงานของตระกูลการตกแต่งปูนปั้น ที่เรียกกันว่า โรโคโคเวสโซบรุน (Wessobrunn) ที่วัดวีส์ การตกแต่งนี้จะรวมไปถึงเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และ สิ่งของอื่นๆ ที่ใช้ภายในห้องนั้น ทุกสิ่งทุกย่างที่กล่าวมาจะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สีที่ใช้ก็จะเป็นสีสว่าง และ นุ่มนวลแทนที่จะใช้แม่สีและสีค่อนข้างหนักเหมือนศิลปะแบบบาโรก การตกแต่งภายในแบบนี้นิยมกันมากในการตกแต่งวัดคาธอลิกทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี จะเห็นได้จากงานของตระกูลฟ็อยค์เมเยอร์ (Feuchtmayer)
งานปูนโรโคโคโดยศิลปินฝีมือดีชาวสวิส-อิตาลีเช่น บากุตตี (Bagutti) และ อาตารี (Artari) จะเห็นได้จากการตกแต่งภายในบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกอังกฤษชื่อเจมส์ กิบส์ (James Gibbs) และ งานของพี่น้องฟรานชินี (Franchini) ที่ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่ดีพอๆกับศิลปะลักษณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษ

ประติมากรรม





ผู้ที่ถือกันว่าเป็นประติมากรคนสำคัญของโรโคโคแบบฝรั่งเศสคือเอเตียน โมรีส ฟาลโกเน (Étienne-Maurice Falconet) ประติมากรรมของฟาลโคเนท์ จะเป็นรูปปั้นกระเบื้องเล็กๆ แทนที่จะเป็นรูปแกะสลักหินอ่อนใหญ่โตอย่างสมัยบาโรก ฟาลโคเนท์เองก็เป็นผู้อำนวยการโรงงานเครื่องกระเบื้องที่ เซเวรอ ที่ประเทศฝรั่งเศส เรื่องที่ใช้ปั้นก็จะเป็นเรื่องรัก เรื่องสนุก และธรรมชาติ

ประติมากรแอ็ดเม บูชาร์ดง (Edmé Bouchardon) ปั้นคิวปิดกำลังแกะลูกศรจากกระบองของ เฮอร์คิวลีส (Hercules) รูปนี้คือหัวใจของศิลปะแบบโรโคโคที่แสดงปรัชญาพื้นฐานของโรโคโค ที่เทพ (คิวปิด) ถูกแปลเป็นเด็กน้อย กระบองกลายเป็นเครื่องมือแห่งความรัก (ลูกศร) เหมือนกับการที่ใช้ปูนปั้นแทนหินอ่อนในสมัยบาโรก ศิลปินคนอื่นที่น่าจะกล่าวถึงก็มี โรแบร์ เลอ โลแรง (Robert le Lorrain) มีแชล โกลดียง (Michel Clodion) และ ปีกัล (Pigalle)

คีตกรรม


ดนตรีแบบกาล็องต์ (Galante Style) ระหว่างสมัยบาโรกและคลาสสิก ถือกันว่าเป็นดนตรีโรโคโค ดนตรีโรโคโคพัฒนามาจากดนตรีบาโรกโดยเฉพาะที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดนตรีที่ไม่ไปทางนาฏกรรมแต่จะนุ่มนวล อย่างงานของ ฌ็อง ฟิลิป ราโม (Jean Philippe Rameau) และ ลุย โกลด ดาแกง (Louis-Claude Daquin)
รุปปั้นกระเบื้องของไมเซ็น



อ้างอิง

/th.wikipedia.org

สถาปัตยกรรมบาโรก

สถาปัตยกรรมบาโรก


สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม
ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง
การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1545 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1563 เป็นเหตุการณ์ที่ถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก” ฉะนั้นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกจึงนอกจากจะเป็นการแสดงออกทางอารมณ์แล้วยังเป็นการแสดงความมั่งคั่งและความมีอำนาจของสถาบันศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มความเชื่อถือและความศรัทธาในศาสนาโดย ลัทธิเธียไทน์ (Theatines) และ ลัทธิเยซูอิด (Jesuits) ซึ่งเป็นลัทธิในนิกายโรมันคาทอลิก จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็เริ่มมาอิทธิพลต่อการก่อสร้างชนิดอื่นเช่นพระราชวังโดยเริ่มที่ประเทศฝรั่งเศส เช่นที่ปราสาทเมซองส์ (Château de Maisons) (ค.ศ. 1642) ใกล้ปารีส ออกแบบโดย ฟรองซัว มองซาร์ (François Mansart) และเผยแพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป

ที่มาและลักษณะของสถาปัตยกรรมบาโรก


แม้เราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเป็นสถาปัตยกรรมของยุโรปแต่เราต้องไม่ลืมว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังขยายอาณานิคมฉะนั้นการก่อสร้างจึงมีอิทธิพลไปถึงประเทศในอาณานิคมของยุโรปด้วย ปัจจัยสำคัญในการขยายอาณานิคมก็คือการมีรัฐบาลที่มั่นคงและมีอำนาจเช่น ประเทศฝรั่งเศส หรือ ประเทศสเปน ซึ่งเป็นสองประเทศแรกที่ริเริ่มการขยายตัวในทางนี้ อาณานิคมเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเจ้าของจากทั้งเงินซึ่งขุดจากเหมืองเช่นที่ ประเทศโบลิเวีย หรือ ประเทศเม็กซิโก และประเทศอื่นๆ และทางการค้าขายสินค้าเช่นน้ำตาลหรือยาสูบ ฉะนั้นจึงเป็นผลให้มีความจำเป็นในการควบคุมเส้นทางการค้าขาย สร้างระบบการซื้อขายแบบผูกขาด และการค้าขายทาสเพื่อใช้เป็นแรงงานในประเทศอาณานิคม ระบบต่างเหล่านี้ส่วนใหญ่จะควบคุมโดยประเทศฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 สิ่งต่างๆเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดมีสงครามระหว่างมหาอำนาจอาณานิคม เช่น “สงครามศาสนาของฝรั่งเศส” “สงครามสามสิบปี” ระหว่างปี ค.ศ. 1618 ถึงปี ค.ศ.1648 “สงครามฝรั่งเศส-สเปน” และ “สงครามเนเธอร์แลนด์” ระหว่างปี ค.ศ. 1672 ถึงปี ค.ศ.1678 และอื่นๆ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศสเปนประสพความล้มเหลวในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากอาณานิคมทำให้ต้องล้มละลาย และต้องใช้เวลาในฟี้นตัวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฉะนั้นถึงแม้ว่าสเปนจะเต็มใจยอมรับสถาปัตยกรรมบาโรก แต่ก็ทำได้เพียงผิวเผินเพราะขาดปัจจัย ซึ่งแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสหรือออสเตรียที่เราจะเห็นการก่อสร้างวังใหญ่โตและสำนักสงฆ์กันอย่างแพร่หลายกันในระยะเวลาเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสเปนฝรั่งเศสภายใต้การนำของ ฌอง แบ๊ปติสต์ โคลแบร์ (Jean Baptiste Colbert) รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1683 โคลแบร์นำการอุตสาหกรรมเข้ามาปรับปรุงเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ อันเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมและสิ่งก่อสร้างและศิลปะ แต่สิ่งที่มากับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็คือภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน พูดง่ายๆ คือคนรวยก็รวยมากขึ้นคนจนก็จนลง เช่นจะเห็นได้จากกรุงโรมที่มีชื่อเสียงว่ามีวัดหรูหรามากมายแต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยขอทาน[

สถาปัตยกรรมบาโรกในประเทศต่างๆ






แม้เราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเป็นสถาปัตยกรรมของยุโรปแต่เราต้องไม่ลืมว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังขยายอาณานิคมฉะนั้นการก่อสร้างจึงมีอิทธิพลไปถึงประเทศในอาณานิคมของยุโรปด้วย ปัจจัยสำคัญในการขยายอาณานิคมก็คือการมีรัฐบาลที่มั่นคงและมีอำนาจเช่น ประเทศฝรั่งเศส หรือ ประเทศสเปน ซึ่งเป็นสองประเทศแรกที่ริเริ่มการขยายตัวในทางนี้[1] อาณานิคมเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเจ้าของจากทั้งเงินซึ่งขุดจากเหมืองเช่นที่ ประเทศโบลิเวีย หรือ ประเทศเม็กซิโก และประเทศอื่นๆ และทางการค้าขายสินค้าเช่นน้ำตาลหรือยาสูบ ฉะนั้นจึงเป็นผลให้มีความจำเป็นในการควบคุมเส้นทางการค้าขาย สร้างระบบการซื้อขายแบบผูกขาด และการค้าขายทาสเพื่อใช้เป็นแรงงานในประเทศอาณานิคม ระบบต่างเหล่านี้ส่วนใหญ่จะควบคุมโดยประเทศฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 สิ่งต่างๆเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดมีสงครามระหว่างมหาอำนาจอาณานิคม เช่น “สงครามศาสนาของฝรั่งเศส” “สงครามสามสิบปี” ระหว่างปี ค.ศ. 1618 ถึงปี ค.ศ.1648 “สงครามฝรั่งเศส-สเปน” และ “สงครามเนเธอร์แลนด์” ระหว่างปี ค.ศ. 1672 ถึ


งปี ค.ศ.1678 และอื่นๆ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศสเปนประสพความล้มเหลวในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากอาณานิคมทำให้ต้องล้มละลาย และต้องใช้เวลาในฟี้นตัวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฉะนั้นถึงแม้ว่าสเปนจะเต็มใจยอมรับสถาปัตยกรรมบาโรก แต่ก็ทำได้เพียงผิวเผินเพราะขาดปัจจัย ซึ่งแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสหรือออสเตรียที่เราจะเห็นการก่อสร้างวังใหญ่โตและสำนักสงฆ์กันอย่างแพร่หลายกันในระยะเวลาเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสเปนฝรั่งเศสภายใต้การนำของ ฌอง แบ๊ปติสต์ โคลแบร์ (Jean Baptiste Colbert) รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1683 โคลแบร์นำการอุตสาหกรรมเข้ามาปรับปรุงเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ อันเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมและสิ่งก่อสร้างและศิลปะ แต่สิ่งที่มากับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็คือภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน พูดง่ายๆ คือคนรวยก็รวยมากขึ้นคนจนก็จนลง เช่นจะเห็นได้จากกรุงโรมที่มีชื่อเสียงว่ามีวัดหรูหรามากมายแต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยขอทาน
พระราชวังที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กประเทศรัสเซีย



ประเทศอิตาลี - โรมและอิตาลีตอนใต้


สถาปัตยกรรมบาโรกเริ่มมาจากสถาปัตยกรรมในอิตาลีเช่นบาซิลิกา สิ่งก่อสร้างชิ้นแรกที่แยกตัวมาจากลักษณะแมนเนอริสม์ คือวัดซานตาซูซานนาซึ่งออกแบบโดย คาร์โล มาเดอร์โน จังหวะการวางโครงสร้างของเสา โถงกลาง และ การตกแต่งภายในทำให้สิ่งก่อสร้างเพิ่มความซับซ้อนขึ้น และการริเริ่มความมีลูกเล่นภายในกฎของโครงสร้างแบบคลาสสิกสถาปัตยกรรมบาโรกจะเน้นความยืดหยุ่น ความต่อเนื่อง และ ความเป็นนาฏกรรมของสิ่งก่อสร้างซึ่งจะเห็นได้จากผลงานวัดซานลูคาและซานตามาร์ตินา (San Luca e Santa Martina) และวัดซานตามาเรียเดลลาพาเซ(Santa Maria della Pace) โดย เปียโตร ดา คอร์โตนา (Pietro da Cortona) ที่สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1656 โดยเฉพาะด้านหน้าวัดซานตามาเรียเดลลาปาเซซึ่งเป็นโค้งยื่นออกไปสู่จัตุรัสแคบๆหน้าวัด ทำให้เหมือนฉากโรงละคร การผสมผสานลักษณะศิลปะโรมันเข้าไปในสมัยนี้ทำให้มีสิ่งก่อสร้างมีลักษณะสง่าเป็นที่เห็นได้ชัดจากภูมิทัศน์เมืองรอบสิ่งก่อสร้าง

ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างตามลักษณะนี้คือลาน/จัตุรัสหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ออกแบบโดย จานลอเรนโซ เบร์นินีระหว่างปี ค.ศ. 1656 ถึงปี ค.ศ. 1667 ซึ่งถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบาโรกที่เพิ่มความเด่นชัดของภูมิทัศน์เมืองโรม ตัวจัตุรัสเป็นซุ้มโค้งสองด้าน (colonnades) รอบลานกลางทรง trapezoidal เพราะความใหญ่โตและรูปทรงของจัตุรัสที่ดึงเข้าไปสู่ด้านหน้ามหาวิหาร ทำให้ผู้ที่เดินเข้ามาในจัตุรัสมีความรู้สึกเกรงขามหรือทึ่ง ผังที่เบร์นินีเองชอบคือวัดรูปไข่ซานอันเดรียอาลควินาลเล (Sant'Andrea al Quirinale) ที่ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1658 ซึ่งมีแท่นบูชาตระหง่านและโดมสูงเป็นตัวอย่างที่แสดงหัวใจของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกได้อย่างกะทัดรัด ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกสำหรับที่อยู่อาศัยของเบร์นินีก็ได้แก่วังบาร์เบรินี (Palazzo Barberini) ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1629 และวังชิจิ (Palazzo Chigi-Odescalchi) ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1664
ผังวัดซานคาร์โลอัลเลอควอโตรฟอนทาเน โดย บอโรมินิ

คู่แข่งคนสำคัญของเบร์นินีที่โรมคือ ฟรานเซสโก บอโรมินิ ซึ่งงานของเขาจะแยกแนวไปจากการจัดองค์ประกอบตามสถาปัตยกรรมแบบแผนโบราณและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นอย่างมาก สถาปัตยกรรมของบอโรมินิจะหนักไปทางนาฏกรรมมากกว่าแบบแผนเดิมซึ่งในภายหลังถือว่าเป็นการปฏิวัติทางสถาปัตยกรรมหลังจากที่ถูกโจมตีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บอโรมินินิยมใช้การจัดรูปแบบจากรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ อย่างซับซ้อน ช่องว่างภายในของจะขยายออกหรือหดตัวตามที่บอโรมินิจะจัดซึ่งมาเชื่อมต่อกับลักษณะการออกแบบระยะต่อมาโดยมิเกลันเจโล ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของบอโรมินิคือวัดซานคาร์โลอัลเลอควอโตรฟอนทาเน (San Carlo alle Quattro Fontane) ซึ่งจะเห็นได้จากผังที่เป็นรูปไข่และการเล่นโค้งเว้าโค้งนูน ผลงานระยะต่อมาที่วัดซานอิโวอัลลาซาพิเอ็นซา[2] (Sant'Ivo alla Sapienza) บอโรมินิหลีกเลี่ยงการใช้ผืนผิวเรียบที่ไม่มีการตกแต่งโดยการเติมสิ่งต่างจะเห็นได้จากโดมจุกคอร์กทรงตะเกียงบนหลังคาวั
จัตุรัสหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม



ประเทศอิตาลี - ภาคเหนือ





างภาคเหนือของอิตาลีเจ้านายราชวงศ์ซาวอยทรงนิยมสถาปัตยกรรมบาโรกจึงจ้าง กัวริโน กัวรินี ฟิลิปโป จูวาร์รา (Filippo Juvarra) และ เบอร์นาร์โด วิทโทเน (Bernardo Vittone) ในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงอำนาจทางการเมืองที่ราชวงศ์นี้เพิ่งได้รับมา

กัวรินีเดิมเป็นพระใช้ความชำนาญทางสถาปัตยกรรมกอธิคเดิมเป็นพื้นฐานในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่รูปทรงไม่สมมาตร โดยการใช้เสารูปใข่หรือการทำด้านตกแต่ง (Façade)ที่ผิดแปลกไปจากจากที่เคยทำกันมา โดยสร้างลักษณะที่เรียกกันว่า “architectura obliqua” ซึ่งนำมาจากลักษณะของฟรานเซสโก บอโรมินิทั้งรูปทรงและโครงสร้าง วังคาริยาโน (Palazzo Carignano) ที่กัวรินีสร้างเมือปี ค.ศ. 1679 ถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่หรูหราที่สุดในการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ลักษณะสิ่งก่อสร้างของฟิลิปโป จูวาร์ราจะดูเบาเหมือนลอยได้ซึ่งเป็นลักษณะที่พบในศิลปะแบบโรโคโค งานออกแบบชิ้นที่สำคัญที่สุดเป็นงานที่ทำให้กับวิคทอร์ อามาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย ทัศน์ศิลป์ของบาซิลิกาซุเพอร์กาที่จูวาร์ราสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1717 มีอิทธิพลมาจากตึกเด่นๆ และเนินเขาบริเวณตูริน ตัวบาซิลิกาเองตั้งเด่นอยู่บนเขาเหนือตัวเมืองซึ่งเป็นลักษณะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านพักล่าสัตวฺ์ สำหรับวังสตูปินยิ (Palazzina di Stupinigi) เมื่อปี ค.ศ. 1729 งานของจูวาร์รามีอิทธิพลนอกเหนือไปจากบริเวณตูริน ซึ่งจะเห็นได้จากงานสุดท้ายที่ทำคือพระราชวังลากรานฮา[5] (La Granja) ที่มาดริด ประเทศสเปน สำหรับพระเจ้าฟิลลิปที่ 5 แห่งสเปน และพระราชวังอรานฮูซ[6] (Palacio Real de Aranjuez)

แต่ผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากกัวรินี และจูวาร์รามากที่สุดเห็นจะเป็นเบอร์นาร์โด วิทโทเน สถาปนิกชาวพีดมอนท์ผู้สร้างวัดแบบโรโคโคไว้มาก ผังจะเป็นสี่กลีบและใช้รายละเอียดมากในการตกแต่ง แบบของวิทโทเนจะซับซ้อนเป็นเพดานโค้งซ้อนกันหลายชั้น โครงสร้างซ้อนโครงสร้าง และโดมซ้อนโดม



ด้านหน้าวังคาริยาโน โดย ฟรานเซสโก บอโรมินิ

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา


สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (ฝรั่งเศสRenaissanceอิตาลีRinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14

  งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน

ประวัติของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา




หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน อาทิเช่น

  1. ศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซา มีเกลันเจโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอลผู้กำกับการสร้างและตกแต่งมหาวิหารนักบุญเปโตร เป็นต้น
  2. เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกสและสเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้น
  3. วิทยาศาสตร์ แนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุ โดยพาราเซลซัส, แนวคิดระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส และความรู้ด้านการแพทย์ โดยแอนเดรียส เวซาเลียส และ วิลเลียม ฮาร์วีย์


ศิลปะ


ศิลปะเรอแนซ็องส์ (พ.ศ. 1940 - 2140) คำว่า "เรอแนซ็องส์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรอแนซ็องส์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คริสตจักรยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัจฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

  งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

อ้างอิง


th.wikipedia.org