วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถาปัตยกรรมบาโรก

สถาปัตยกรรมบาโรก


สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม
ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง
การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1545 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1563 เป็นเหตุการณ์ที่ถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก” ฉะนั้นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกจึงนอกจากจะเป็นการแสดงออกทางอารมณ์แล้วยังเป็นการแสดงความมั่งคั่งและความมีอำนาจของสถาบันศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มความเชื่อถือและความศรัทธาในศาสนาโดย ลัทธิเธียไทน์ (Theatines) และ ลัทธิเยซูอิด (Jesuits) ซึ่งเป็นลัทธิในนิกายโรมันคาทอลิก จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็เริ่มมาอิทธิพลต่อการก่อสร้างชนิดอื่นเช่นพระราชวังโดยเริ่มที่ประเทศฝรั่งเศส เช่นที่ปราสาทเมซองส์ (Château de Maisons) (ค.ศ. 1642) ใกล้ปารีส ออกแบบโดย ฟรองซัว มองซาร์ (François Mansart) และเผยแพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป

ที่มาและลักษณะของสถาปัตยกรรมบาโรก


แม้เราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเป็นสถาปัตยกรรมของยุโรปแต่เราต้องไม่ลืมว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังขยายอาณานิคมฉะนั้นการก่อสร้างจึงมีอิทธิพลไปถึงประเทศในอาณานิคมของยุโรปด้วย ปัจจัยสำคัญในการขยายอาณานิคมก็คือการมีรัฐบาลที่มั่นคงและมีอำนาจเช่น ประเทศฝรั่งเศส หรือ ประเทศสเปน ซึ่งเป็นสองประเทศแรกที่ริเริ่มการขยายตัวในทางนี้ อาณานิคมเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเจ้าของจากทั้งเงินซึ่งขุดจากเหมืองเช่นที่ ประเทศโบลิเวีย หรือ ประเทศเม็กซิโก และประเทศอื่นๆ และทางการค้าขายสินค้าเช่นน้ำตาลหรือยาสูบ ฉะนั้นจึงเป็นผลให้มีความจำเป็นในการควบคุมเส้นทางการค้าขาย สร้างระบบการซื้อขายแบบผูกขาด และการค้าขายทาสเพื่อใช้เป็นแรงงานในประเทศอาณานิคม ระบบต่างเหล่านี้ส่วนใหญ่จะควบคุมโดยประเทศฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 สิ่งต่างๆเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดมีสงครามระหว่างมหาอำนาจอาณานิคม เช่น “สงครามศาสนาของฝรั่งเศส” “สงครามสามสิบปี” ระหว่างปี ค.ศ. 1618 ถึงปี ค.ศ.1648 “สงครามฝรั่งเศส-สเปน” และ “สงครามเนเธอร์แลนด์” ระหว่างปี ค.ศ. 1672 ถึงปี ค.ศ.1678 และอื่นๆ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศสเปนประสพความล้มเหลวในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากอาณานิคมทำให้ต้องล้มละลาย และต้องใช้เวลาในฟี้นตัวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฉะนั้นถึงแม้ว่าสเปนจะเต็มใจยอมรับสถาปัตยกรรมบาโรก แต่ก็ทำได้เพียงผิวเผินเพราะขาดปัจจัย ซึ่งแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสหรือออสเตรียที่เราจะเห็นการก่อสร้างวังใหญ่โตและสำนักสงฆ์กันอย่างแพร่หลายกันในระยะเวลาเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสเปนฝรั่งเศสภายใต้การนำของ ฌอง แบ๊ปติสต์ โคลแบร์ (Jean Baptiste Colbert) รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1683 โคลแบร์นำการอุตสาหกรรมเข้ามาปรับปรุงเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ อันเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมและสิ่งก่อสร้างและศิลปะ แต่สิ่งที่มากับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็คือภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน พูดง่ายๆ คือคนรวยก็รวยมากขึ้นคนจนก็จนลง เช่นจะเห็นได้จากกรุงโรมที่มีชื่อเสียงว่ามีวัดหรูหรามากมายแต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยขอทาน[

สถาปัตยกรรมบาโรกในประเทศต่างๆ






แม้เราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเป็นสถาปัตยกรรมของยุโรปแต่เราต้องไม่ลืมว่าสถาปัตยกรรมบาโรกเกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังขยายอาณานิคมฉะนั้นการก่อสร้างจึงมีอิทธิพลไปถึงประเทศในอาณานิคมของยุโรปด้วย ปัจจัยสำคัญในการขยายอาณานิคมก็คือการมีรัฐบาลที่มั่นคงและมีอำนาจเช่น ประเทศฝรั่งเศส หรือ ประเทศสเปน ซึ่งเป็นสองประเทศแรกที่ริเริ่มการขยายตัวในทางนี้[1] อาณานิคมเพิ่มความมั่งคั่งให้กับเจ้าของจากทั้งเงินซึ่งขุดจากเหมืองเช่นที่ ประเทศโบลิเวีย หรือ ประเทศเม็กซิโก และประเทศอื่นๆ และทางการค้าขายสินค้าเช่นน้ำตาลหรือยาสูบ ฉะนั้นจึงเป็นผลให้มีความจำเป็นในการควบคุมเส้นทางการค้าขาย สร้างระบบการซื้อขายแบบผูกขาด และการค้าขายทาสเพื่อใช้เป็นแรงงานในประเทศอาณานิคม ระบบต่างเหล่านี้ส่วนใหญ่จะควบคุมโดยประเทศฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 สิ่งต่างๆเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดมีสงครามระหว่างมหาอำนาจอาณานิคม เช่น “สงครามศาสนาของฝรั่งเศส” “สงครามสามสิบปี” ระหว่างปี ค.ศ. 1618 ถึงปี ค.ศ.1648 “สงครามฝรั่งเศส-สเปน” และ “สงครามเนเธอร์แลนด์” ระหว่างปี ค.ศ. 1672 ถึ


งปี ค.ศ.1678 และอื่นๆ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศสเปนประสพความล้มเหลวในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากอาณานิคมทำให้ต้องล้มละลาย และต้องใช้เวลาในฟี้นตัวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฉะนั้นถึงแม้ว่าสเปนจะเต็มใจยอมรับสถาปัตยกรรมบาโรก แต่ก็ทำได้เพียงผิวเผินเพราะขาดปัจจัย ซึ่งแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสหรือออสเตรียที่เราจะเห็นการก่อสร้างวังใหญ่โตและสำนักสงฆ์กันอย่างแพร่หลายกันในระยะเวลาเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสเปนฝรั่งเศสภายใต้การนำของ ฌอง แบ๊ปติสต์ โคลแบร์ (Jean Baptiste Colbert) รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1683 โคลแบร์นำการอุตสาหกรรมเข้ามาปรับปรุงเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ อันเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมและสิ่งก่อสร้างและศิลปะ แต่สิ่งที่มากับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก็คือภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน พูดง่ายๆ คือคนรวยก็รวยมากขึ้นคนจนก็จนลง เช่นจะเห็นได้จากกรุงโรมที่มีชื่อเสียงว่ามีวัดหรูหรามากมายแต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยขอทาน
พระราชวังที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กประเทศรัสเซีย



ประเทศอิตาลี - โรมและอิตาลีตอนใต้


สถาปัตยกรรมบาโรกเริ่มมาจากสถาปัตยกรรมในอิตาลีเช่นบาซิลิกา สิ่งก่อสร้างชิ้นแรกที่แยกตัวมาจากลักษณะแมนเนอริสม์ คือวัดซานตาซูซานนาซึ่งออกแบบโดย คาร์โล มาเดอร์โน จังหวะการวางโครงสร้างของเสา โถงกลาง และ การตกแต่งภายในทำให้สิ่งก่อสร้างเพิ่มความซับซ้อนขึ้น และการริเริ่มความมีลูกเล่นภายในกฎของโครงสร้างแบบคลาสสิกสถาปัตยกรรมบาโรกจะเน้นความยืดหยุ่น ความต่อเนื่อง และ ความเป็นนาฏกรรมของสิ่งก่อสร้างซึ่งจะเห็นได้จากผลงานวัดซานลูคาและซานตามาร์ตินา (San Luca e Santa Martina) และวัดซานตามาเรียเดลลาพาเซ(Santa Maria della Pace) โดย เปียโตร ดา คอร์โตนา (Pietro da Cortona) ที่สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1656 โดยเฉพาะด้านหน้าวัดซานตามาเรียเดลลาปาเซซึ่งเป็นโค้งยื่นออกไปสู่จัตุรัสแคบๆหน้าวัด ทำให้เหมือนฉากโรงละคร การผสมผสานลักษณะศิลปะโรมันเข้าไปในสมัยนี้ทำให้มีสิ่งก่อสร้างมีลักษณะสง่าเป็นที่เห็นได้ชัดจากภูมิทัศน์เมืองรอบสิ่งก่อสร้าง

ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างตามลักษณะนี้คือลาน/จัตุรัสหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ออกแบบโดย จานลอเรนโซ เบร์นินีระหว่างปี ค.ศ. 1656 ถึงปี ค.ศ. 1667 ซึ่งถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบาโรกที่เพิ่มความเด่นชัดของภูมิทัศน์เมืองโรม ตัวจัตุรัสเป็นซุ้มโค้งสองด้าน (colonnades) รอบลานกลางทรง trapezoidal เพราะความใหญ่โตและรูปทรงของจัตุรัสที่ดึงเข้าไปสู่ด้านหน้ามหาวิหาร ทำให้ผู้ที่เดินเข้ามาในจัตุรัสมีความรู้สึกเกรงขามหรือทึ่ง ผังที่เบร์นินีเองชอบคือวัดรูปไข่ซานอันเดรียอาลควินาลเล (Sant'Andrea al Quirinale) ที่ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1658 ซึ่งมีแท่นบูชาตระหง่านและโดมสูงเป็นตัวอย่างที่แสดงหัวใจของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกได้อย่างกะทัดรัด ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกสำหรับที่อยู่อาศัยของเบร์นินีก็ได้แก่วังบาร์เบรินี (Palazzo Barberini) ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1629 และวังชิจิ (Palazzo Chigi-Odescalchi) ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1664
ผังวัดซานคาร์โลอัลเลอควอโตรฟอนทาเน โดย บอโรมินิ

คู่แข่งคนสำคัญของเบร์นินีที่โรมคือ ฟรานเซสโก บอโรมินิ ซึ่งงานของเขาจะแยกแนวไปจากการจัดองค์ประกอบตามสถาปัตยกรรมแบบแผนโบราณและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นอย่างมาก สถาปัตยกรรมของบอโรมินิจะหนักไปทางนาฏกรรมมากกว่าแบบแผนเดิมซึ่งในภายหลังถือว่าเป็นการปฏิวัติทางสถาปัตยกรรมหลังจากที่ถูกโจมตีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บอโรมินินิยมใช้การจัดรูปแบบจากรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ อย่างซับซ้อน ช่องว่างภายในของจะขยายออกหรือหดตัวตามที่บอโรมินิจะจัดซึ่งมาเชื่อมต่อกับลักษณะการออกแบบระยะต่อมาโดยมิเกลันเจโล ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของบอโรมินิคือวัดซานคาร์โลอัลเลอควอโตรฟอนทาเน (San Carlo alle Quattro Fontane) ซึ่งจะเห็นได้จากผังที่เป็นรูปไข่และการเล่นโค้งเว้าโค้งนูน ผลงานระยะต่อมาที่วัดซานอิโวอัลลาซาพิเอ็นซา[2] (Sant'Ivo alla Sapienza) บอโรมินิหลีกเลี่ยงการใช้ผืนผิวเรียบที่ไม่มีการตกแต่งโดยการเติมสิ่งต่างจะเห็นได้จากโดมจุกคอร์กทรงตะเกียงบนหลังคาวั
จัตุรัสหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม



ประเทศอิตาลี - ภาคเหนือ





างภาคเหนือของอิตาลีเจ้านายราชวงศ์ซาวอยทรงนิยมสถาปัตยกรรมบาโรกจึงจ้าง กัวริโน กัวรินี ฟิลิปโป จูวาร์รา (Filippo Juvarra) และ เบอร์นาร์โด วิทโทเน (Bernardo Vittone) ในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงอำนาจทางการเมืองที่ราชวงศ์นี้เพิ่งได้รับมา

กัวรินีเดิมเป็นพระใช้ความชำนาญทางสถาปัตยกรรมกอธิคเดิมเป็นพื้นฐานในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่รูปทรงไม่สมมาตร โดยการใช้เสารูปใข่หรือการทำด้านตกแต่ง (Façade)ที่ผิดแปลกไปจากจากที่เคยทำกันมา โดยสร้างลักษณะที่เรียกกันว่า “architectura obliqua” ซึ่งนำมาจากลักษณะของฟรานเซสโก บอโรมินิทั้งรูปทรงและโครงสร้าง วังคาริยาโน (Palazzo Carignano) ที่กัวรินีสร้างเมือปี ค.ศ. 1679 ถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่หรูหราที่สุดในการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ลักษณะสิ่งก่อสร้างของฟิลิปโป จูวาร์ราจะดูเบาเหมือนลอยได้ซึ่งเป็นลักษณะที่พบในศิลปะแบบโรโคโค งานออกแบบชิ้นที่สำคัญที่สุดเป็นงานที่ทำให้กับวิคทอร์ อามาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย ทัศน์ศิลป์ของบาซิลิกาซุเพอร์กาที่จูวาร์ราสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1717 มีอิทธิพลมาจากตึกเด่นๆ และเนินเขาบริเวณตูริน ตัวบาซิลิกาเองตั้งเด่นอยู่บนเขาเหนือตัวเมืองซึ่งเป็นลักษณะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านพักล่าสัตวฺ์ สำหรับวังสตูปินยิ (Palazzina di Stupinigi) เมื่อปี ค.ศ. 1729 งานของจูวาร์รามีอิทธิพลนอกเหนือไปจากบริเวณตูริน ซึ่งจะเห็นได้จากงานสุดท้ายที่ทำคือพระราชวังลากรานฮา[5] (La Granja) ที่มาดริด ประเทศสเปน สำหรับพระเจ้าฟิลลิปที่ 5 แห่งสเปน และพระราชวังอรานฮูซ[6] (Palacio Real de Aranjuez)

แต่ผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากกัวรินี และจูวาร์รามากที่สุดเห็นจะเป็นเบอร์นาร์โด วิทโทเน สถาปนิกชาวพีดมอนท์ผู้สร้างวัดแบบโรโคโคไว้มาก ผังจะเป็นสี่กลีบและใช้รายละเอียดมากในการตกแต่ง แบบของวิทโทเนจะซับซ้อนเป็นเพดานโค้งซ้อนกันหลายชั้น โครงสร้างซ้อนโครงสร้าง และโดมซ้อนโดม



ด้านหน้าวังคาริยาโน โดย ฟรานเซสโก บอโรมินิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น