วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์


สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ (อังกฤษRomanesque Revival architecture หรือ Neo-Romanesque) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีอิทธพลมาจากลักษณะสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์[1]ของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12

ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุนเพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกัน เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง
สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ 

คำว่า “โรมาเนสก์” ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักโบราณคดีชาร์ลส์-อเล็กซีส-อาเดรียน ดูเอริสซิเยร์ เดอ แชวิลล์เมื่อต้นปีคริสต์วรรษที่ 19 เพื่อบรรยายสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์วรรษที่ 5 จนถึงคริสต์วรรษที่ 13 ในเวลาที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายยังระบุไม่ได้ว่าสร้างเมื่อไหร่ คำนี้ในปัจจุบันจำกัดเวลาแคบลงจากเดิมมาเป็นสถาปัตยกรรมตั้งแต่ปลายคริสต์วรรษที่ 10 จนถึงคริสต์วรรษที่ 12 คำว่า “โรมาเนสก์” บรรยายถึงลักษณะที่เป็นแบบบอกได้แน่นอนว่าเป็นยุคกลางแต่ก่อนสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคแต่ก็ยังรักษารูปลักษณ์แบบสิ่งก่อสร้างโรมันเช่นซุ้มโค้งฉะนั้นจึงดูเหมือนว่าเป็นศิลปะที่ต่อเนื่องมาจากโรมันซึ่งเป็นแบบเรียบง่ายแต่วิธีการก่อสร้างไม่ดีเท่าสิ่งก่อสร้างโรมัน

คำว่า “สถาปัตยกรรมก่อนโรมาเนสก์” บางครั้งจะหมายถึงสถาปัตยกรรมในประเทศเยอรมนี สมัยคาโรแล็งเชียงและแบบอ็อตโตเนียน (Ottonian) ขณะที่ “สถาปัตยกรรมก่อนโรมาเนสก์ต้น” กล่าวถึงสิ่งก่อสร้างในประเทศอิตาลี ประเทศสเปน และบางส่วนของ ประเทศฝรั่งเศสที่มีลักษณะโรมาเนสก์แต่ก่อนหน้าอิทธิพลของแอบบีคลูนี

วัดโรมาเนสก์ซานทคลิเมนต์ที่เมืองทอล (Taüll) ประเทศสเปน

วัดเซนต์ลอเรนซ์, แบรดฟอร์ด-ออน-เอวอน ซึ่งเป็นวัดโรมานาสก์แท้ที่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากผังเดิมตั้งแต่สร้างมา














แอบบีเซนองค์ในประเทศฝรั่งเศส ล้อมรอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างจากหลายสมัย







ลักษณะสถาปัตยกรรม


ลักษณะโดยทั่วไปที่เราเข้าใจกันของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาหรือที่อยู่อาศัยคือจะมีลักษณะแน่นหนาเทอะทะ และแข็งแรง ซึ่งตรงกันข้ามกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของกรีกและโรมัน และสถาปัตยกรรมกอธิคที่จะเพรียวกว่าในสมัยต่อมา โครงสร้างที่รับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่จะเป็นเสา เสาอิง และซุ้มโค้ง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์คล้ายกับสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ตรงที่จะใช้กับกำแพง หรือช่วงกำแพงที่เรียกว่าเสาอิง หรือเสาสี่เหลี่ยม (Pier) เป็นสิ่งสำคัญในการรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้าง

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบ่งเป็นสองสมัย, “โรมาเนสก์สมัยต้น” และ “โรมาเนสก์สมัยสอง” ความแตกต่างของสองสมัยอยู่ที่ความชำนาญในการก่อสร้าง “โรมาเนสก์สมัยต้น” จะใช้ “กำแพงวัสดุ,” หน้าต่างแคบ, และหลังคาที่ยังไม่โค้ง “โรมาเนสก์สมัยสอง” ต่อมาฝีมือจะดีขี้นและมีใช้เพดานโค้งที่โค้งขึ้นรวมทั้งมีการตกแต่งหน้าหินเพิ่มขึ้น




ซานอัมโบรจิโอ (Sant'Ambrogio) ที่มิลาน ประเทศอิตาลี สร้างด้วยอิฐ

มหาวิหารไมนซ (Mainz Cathedral) เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่เป็นสามชั้น





กำแพง


กำแพงของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์มักจะหนามากและมีหน้าต่างหรือประตูแคบๆ เพียงไม่กี่ช่อง กำแพงจะเป็นสองชั้นภายในจุด้วยขยะสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “กำแพงวัสดุ”

วัสดุการก่อสร้างจะแตกต่างกันแล้วแต่ละท้องถิ่น ในประเทศอิตาลี โปแลนด์ เยอรมนี และบางส่วนของเนเธอร์แลนด์มักจะสร้างด้วยอิฐ บริเวณอื่นๆ จะใช้ หินแกรนิต หินปูน หรือหินเหล็กไฟหินที่ใช้จะตัดเป็นก้อนไม่เท่ากันเชื่อมต่อกันด้วยปูน การตกแต่งหน้าหินยังไม่ใช่ลักษณะเด่นของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์โดยเฉพาะสมัยโรมาเนสก์ต้น แต่มาปรากฏภายหลังเมื่อมีการใช้หินปูนเป็นสิ่งก่อสร้าง



เสา


  • เสาสี่เหลี่ยม เสาสี่เหลี่ยม หรือเสาอิง (Pier) ในสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ใช้สำหรับรับซุ้มโค้ง จะทำจากปูนเป็นสี่เหลี่ยมบางส่วนและมีบัวหัวเสาตรงบริเวณที่เริ่มโค้ง บางครั้งเสาก็จะมีเสาแนบ(Shaft) ประกบและมีบัวที่ฐาน แม้ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมแต่บางครั้งจะเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนโดยการใช้ตัวเสาหลักที่กลวงเป็นตัวรับซุ้มโค้ง หรือใช้กลุ่มเสาแนบประกบกันจนไปถึงซุ้มโค้ง บางครั้งเสาอิงก็ใช้สำหรับรับซุ้มโค้งสองซุ้มใหญ่ตัดกันเช่นภายใต้จุดตัดระหว่างทางเดินกลางและแขนกางเขน และมักจะเป็นลักษณะไขว้เป็นฉากต่อกัน
มุขของมหาวิหาร Seu d'Urgell ที่สเปน มึหน้าต่างกุหลาบ และระเบียงรอบ

ภายในวัดเซนต์เกอทรูด (St Gertrude) นิเวลลส์ ประเทศเบลเยี่ยมมีเพดานแบบ king post


วัดเซนต์ไมเคิลที่ฮิลเดสไฮม์ใช้เสาสี่เหลี่ยมสลับกับเสากลม


การใช้โค้งหน้าต่างและประตู

โค้งในสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์เป็นครึ่งวงกลมนอกจากบางแห่งที่ยกเว้นเช่นที่มหาวิหารแซงต์ลาซาร์แห่งโอทุงในประเทศฝรั่งเศส และมหาวิหารมอนริอาล ที่ซิซิลี แต่เป็นส่วนน้อย ทั้งสองแห่งใช้โค้งแหลม เชื่อกันว่าการใช้โค้งครึ่งวงกลมมีอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมอิสลาม การวางหน้าต่างจะมีขื่อเหนือหน้าต่าง ถ้าหน้าต่างใหญ่ก็จะเป็นหน้าต่างโค้ง ประตูก็เช่นกันจะเป็นโค้งครึ่งวงกลมด้านบน นอกจากประตูที่มีเสี้ยวครึ่งวงกลม หรือเสี้ยวพระจันทร์ (lunette) ตกแต่งเหนือประตูที่ทำให้ประตูกลายเป็นสี่เหลี่ยม


เพดานและหลังคา

หลังคาของสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในสมัยโรมาเนสก์จะเป็นไม้ลักษณะที่ใช้โครงรับ สำหรับวัดทางเดินข้างจะเป็นหลังคาโค้งแต่ทางเดินกลางจะเป็นหลังคาไม้เช่นที่มหาวิหารปีเตอร์บะระห์ และมหาวิหารอีลี[ การใช้หลังคาไม้แบบแสดงโครงนิยมกันในอิตาลี และบางครั้งก็จะตกแต่งขื่อคานอย่างสวยงามเช่นที่บาซิลิกามินิอาโตอัลมอนเตที่ฟลอเรนซ์[เพดานที่ทำจากหินหรืออิฐมีด้วยกันหลายแบบและแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงตามสมัยจนมาถึงสมัยกอธิค



วัดซานเซโนมายอเร ที่เวอโรนา ประเทศอิตาลี

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น